โรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดซึ้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ไขมันในเลือดมีหลายชนิด แต่ที่สำคัญได้แก่คอเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและอีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แบ่งเป็น2ชนิดคือ
1.คอเลสเตอรอลชนิดอันตรายหรือ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล ถ้ามีระดับสูงเกินไปจะไปสะสมอยู่ด้านในหลอดเลือดแดงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบหรืออุดตัน
2.คอเลสเตอรอลชนิดดี เอชดีแอล คอเลสเตอรอล เป็นชนิดที่มีประโยนช์ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลชนิดนี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง และได้รับจากอาหารทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง 1.ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ 2.ทานอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง หรืออาหารที่ให้พลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย
3.โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่นต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปรกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสวะ
ยาสเตียรอยด์เป็นต้น
4.การดื่มสุราในปริมาณมาก เป็นประจำทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง
5.ขาดการออกกำลังกาย อันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ อุดตัน ส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆเช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ตับอ่อนอักเสบเป็นต้น
การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ควบคุมอาหาร อาหารที่ครวทาน นมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันโดยแยกเอาไขมันและหนังออกให้หมด ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวที่ไม่ขัดสีมาก ขนมปังโฮลวีต ผักสดต่างๆไม่น้อยกว่าวันละ2มื้อ ผลไม้ไม่หวานจัด ใช้ไขมันจากพืช เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำประกอบอาหาร อาหารประเภทต้ม ต้มยำ แกงส้ม ยำ นึ้ง อบ ย่าง ไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบไขมันจากปลาทะเลสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวน้อยลงอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลทำให้การดูดซึมลดลง
ตัวอย่างอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ แอปเปิ้ล ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน ถั่วแระ ถั่วฝักยาว แพร ถั่วเขียว แครรอท อาหารซีเรียล เมล็ดแมงลัก ส่วนอาหารที่มีไฟเบอร์ปานกลาง ได้แก่ ขนมปังโฮลวีต มะกะโรนี กะหล่ำปลี พุทรา สปาเก็ตตี้ ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพดต้ม น้อยน่า
อาหารที่ไม่ควรทาน อาหารที่มีไขมันมากได้แก่ อาหารทอด เช่นไก่ทอด ไข่เจียว กล้วยแขก แกงกะทิ หล่นต่างๆ ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง แฮม เบค่อน หมูยอ อาหารทะเลบางชนิดเช่น ปลาหมึก หอยนางลม ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล และกะทิหรือมะพร้าวเช่นกล้วยบวชชี ขนมหม้อแกง ข้าวเหนียวหน้าต่างๆ ข้าวโพดคลุกมะพร้าวน้ำตาล ขนมที่มีไขมันแฝงอยู่เช่น ขนมขบเขี้ยว โดนัท เค็ก คุ๊กกี้ ไอศครีม ไขมันที่ได้จากสัตว์เช่น มันหมู มันวัว มันไก่
ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาล่ะ3วัน วันล่ะ30นาทีเป็นการเพิ่มการเผลาญอาหาร ช่วยลดคอเลสเตอรอลและเพิ่มระดับเอชดีแอลในเลือดซึ้งเป็นตัวป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง งดสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เอชดีแอลในเลือดต่ำลงและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน ปรึกษาแพษย์ติดตามดูระดับไขมัน อย่างสม่ำเสมอ
โดย แพทย์หญิงพร้อมพรรณ พฤกษากร แพทย์อายุรกรรมต่อมไร้ท่อศูนย์ศรีพัฒน์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่