เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ของ กีตาร์ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเสียงตนตรีจะต้องรู้จักกับเครื่องดนตรีชนิดนี้แน่นอน คือ กีต้าร์ ซึ่งกีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย
ส่วนประกอบและหลักการเกิดเสียงของกีต้าร์
กีต้าร์นั้นจะมี 6 สาย และจะมีส่วนประกอบหลักๆ ด้วยกัน 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนหัวนั้นเป็นส่วนที่มีชุดลูกบิดติดอยู่เพื่อใช้ในการปรับเสียงของกีต้าร์ ต่อมาคือส่วนคอหรือแป้นวางนิ้วใช้ในการจับคอร์ดเพื่อเล่นโน๊ตต่างๆ และสุดท้ายก็คือส่วนของลำตัว ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้าง ซึ่งจะมีส่วนประกอบสำคัญก็คือ โพรงเสียงเสียงและสะพานสาย กีต้าร์มีหลักการเกิดเสียงง่ายๆ โดยจะนำสายลวดนั้นมาดึงให้ตึงแล้วก็ใช้นิ้วมือดีดทำให้เกิดเสียง หลักการการเกิดเสียงของกีต้าร์นั้นเกิดเสียงขึ้นจากการสั่นพ้อง หรือที่เรียกว่า เรโซแนนซ์ (resonance) โดยสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อทำการดีดสายกีต้าร์จะสังเกตุเห็นได้ว่าสายของกีต้าร์นั้นจะเกิดการสั่นสะเทือน
การสั่นสะเทือนของสายลวดและแผ่นไม้ของกีต้าร์นั้นทำให้เกิดการปะทะกับโมเลกุลของอากาศทำให้เกิดการเคลื่อนที่เข้าหากันหรือแยกออกจากกัน ส่งผลให้คลื่นโมเลกุลของอากาศที่เกิดการอัดตัวเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงเกิดเป็นคลื่นเสียง และคลื่นที่อัดตัวอยู่ภายในตัวของกีต้าร์ส่วนใหญ่นั้นก็จะทำให้เสียงนั้นเล็ดรอดออกมาจากทางรูตรงกลางของตัวกีต้าร์และเคลื่อนที่ไปยังหูของเรา จากนั้นมันก็จะถูกส่งต่อไปยังเส้นประสาทเพื่อนำไปแปลความหมายที่สมอง จากนั้นก็จะกลายเป็นเสียงเพลงที่ทุกคนได้ยินกันนั้นเอง
เสียงสูงเสียงต่ำของกีต้าร์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
การเกิดเสียงของกีต้าร์นั้นจะมีทั้งเสียสูงและเสียงต่ำโดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงสูงและเสียงต่ำนี้ก็คือ ความตึงของสายกีต้าร์ ซึ่งความตึงของสายกีต้ร์านี้เองทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน โดยสายกีต้าร์ที่ตึงกว่าจะส่งผลให้มีระดับเสียงที่สูงกว่าสายกีต้าร์ที่หย่อนกว่า และเสียงของกีต้าร์จะมีเสียงที่ดี และมีหลายปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในส่วนของเนื้อไม้ที่นำมาใช้ในการทำตัวกีต้าร์ การขึ้นโครงของตัวกีต้าร์ ระยะความยาวของคอกีต้าร์ สิ่งเหล่านี้ก็ค่อนข้างมีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณภาพของเสียงของกีต้าร์ทั้งนั้น